Home เกษตร วิ ธีการปลูกไผ่สร้างรายได้ เลี้ยงตัวเองได้ตลอดชีพ

วิ ธีการปลูกไผ่สร้างรายได้ เลี้ยงตัวเองได้ตลอดชีพ

12 second read
0
380

วิ ธีการปลูกไผ่สร้างรายได้ เลี้ยงตัวเองได้ตลอดชีพ

การทำเกษตรกรร มนั้นมีหลากหลายวิธีไม่ใช่แค่การปลูกข้าว ปลูกไม้ผลหรือพืชผักเท่านั้น ปลูกชนิดเดียวไปเลยก็ขายได้เหมือนกัน หากสามารถหาตลาดได้ทุกอย่ างมันเป็นเงินได้หมด วันนี้จะมาพูดถึงการปลูกไผ่เลี้ยง ที่ไม่ได้ย ากเลยทุกคนปลูกกันได้ ไผ่ปลูกง่ายโตเร็ว หาซื้อพันธุ์ไผ่เลี้ยงได้ทั่วไป ตามออนไลน์ก็เยอะ ราคาไม่แพงอีกด้วย เป็นเกษตรกรมือใหม่ก็สามารถปลูกรอด มาศึกษาวิธีการปลูกพร้อมกันเลย

สายพันธุ์ต้นไผ่เลี้ยง

ไผ่เลี้ยงนั้นมีทั้งเป็นพันธุ์หนักและเบา ซึ่งถ้าเป็นหนักนั้นจะให้หน่อในช่วงหน้าฝน แต่ถ้าอย ากได้ผลผลิตนอกฤดูก็อาจไม่คุ้มเท่าไหร่เพราะคงมีต้นทุนสูงในการทำ แต่ถ้าพันธุ์เบานั้นหน่อจะให้เยอะหน้าฝนเช่นกัน แต่ว่านอกฤดูก็ยังมีหน่อได้หากได้รับน้ำบำรุงอย่ างเพียงพอ  ไผ่เลี้ยงเหมาะจะปลูกในดินร่วน ปนทราย ไม่ชอบดินเหนียว แต่ว่าอาจมีไผ่บางอย่ างก็โตได้ในดินอื่น ๆ เหมือนกัน

การปลูกไผ่เลี้ยงเตรียมดินอย่ างไร

ทำการไถพรวนเตรียมดินให้เรียบร้อย โดยในครั้งแรกนั้นใช้ผาน 3 แล้วทิ้งไว้ 2 สัปดาห์เป็นการตากดินก่อน และกำจัดวัชพืชด้วย ต่อไปก็ไถครั้งที่ 2 ใช้ผาน 7 เพื่อให้ร่วนซุยมากขึ้น จากนั้นก็ขุดหลุมขนาด 50 x 50 เซนติเมตร นำปุ๋ ยคอกมาคลุกผสมกับดินก้  นหลุม 1 ปิ๊บ/หลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นเอาตอพันธุ์ไผ่เลี้ยงมาปลูกลึก 1 คืบ แล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำอีกครั้ง เอาฟางแห้งมาคลุมช่วยรัก ษาความชื้น

จากนั้นบำรุงรดน้ำทุกวันจนกว่าไผ่จะแตกหน่อ แล้วก็ลดมาเหลือการให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ก็พอ ถ้าใบสีไม่เข้มก็เอามูลห มูมาบำรุง 3 กิโลกรัม/ต้น พอไผ่อายุ 3 เดือนก็เริ่มมีหน่อทยอยออกมาให้เราได้เก็บกันแล้ว การปลูกแบบเอาพันธุ์ตอไผ่ชำถุงเพาะมาปลูกนั้น ก่อนปลูกอย่ าลืมเอาปุ๋ ยคอกมารองก้ นหลุมก่อน ช่วงแรกของการปลูกนั้นรดน้ำ 2 ครั้ง/วัน ยกเว้นช่วงที่ฝนตกบ่อยก็ไม่ต้องรดเอง แต่ถ้าปลูกด้วยเหง้าตอก็เอาลงหลุมเลย ขุดหลุมเสร็จปลูกเลยไม่ต้องรองก้ น

การบำรุงดูแลไผ่เลี้ยง

การดูแลไผ่เลี้ยงไม่ต้องทำอะไรให้วุ่นวายเลย คอยเอาวัชพืชออกไปในช่วงแรกของการปลูกเพราะจะมาแย่งสา รอาหาร แต่พอไผ่โตเต็มที่แล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้เลย แล้วใบไผ่ที่ร่วงลงมาก็กลายเป็นปุ๋ ยและคลุมดินไปในตัวเลย พออายุได้สัก 5 – 6 เดือน ก็ให้มีไผ่สัก 5 ลำ อย่ าให้เยอะเกินไป มีหน่อมาก็เก็บไปขาย เก็บทานได้เลย

การเก็บเกี่ยวหน่อไม้ไผ่เลี้ยง

ถ้าหากปลูกไผ่เพื่อการขายโดยเฉพาะนั้นควรเลือกหน่อที่มีความสมบูรณ์หน่อย เพื่อให้ขายง่าย ขายดี ถ้าได้ตามที่ตลาดต้องการยังไงก็ขายได้ อันไหนที่ไม่สวยไม่สมบูรณ์ก็ทานเองหรือแบ่งญาติพี่น้องก็ได้ และหน่อไม้ไผ่เลี้ยงนั้นน้ำหนักเฉลี่ยที่ 20 กิโลกรัม/วัน/ไร่ เวลาเก็บเกี่ยวก็ประมาณนี้ ข้อดีของไผ่คือเราแทบไม่ต้องรดน้ำเมื่อมันโตแล้ว ยิ่งหน้าฝนหน่อจะเยอะมากเก็บกันแทบไม่ไหวเลยทีเดียว

หลังจากไผ่อายุได้ 5 เดือนแล้วหน่อไม้จะออกมามีให้เก็บตลอดเลยแทบจะวันเว้นวันเลย พอเข้าเดือนที่ 6 ก็เหมือนจะมีทุกวัน ซึ่งอาจจะได้สัก 10 กิโลกรัม/วัน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของกอนั้นด้วย เวลาตัดก็ให้ใช้มีดคม ๆ เพื่อไม่ทิ้งรอยแผ ลเยอะเกินไป ความสูงหน่อก็อยู่ที่ 35 เซนติเมตรหรือเลือกตัดขนาดตามความเหมาะสมได้เลย

การตัดแต่งกิ่งกอ

หลังจากไผ่เลี้ยงอายุเข้าไปมาสู่ปีที่ 2 ถึงเวลาที่จะต้องตัดแต่งกิ่ง แต่งกอ เพื่อไม่ให้ชิดกันเกินไปอากาศไม่ถ่ายเท เอาเลื่อยมาตัดเลย ตัดยังไงก็ได้ให้เหลือไว้ 1 กอไม่เกิน 15 ลำ หรือถ้าหากมีเวลาจะตัดแต่ง 1 ครั้ง/ปี ไปเลยยิ่งดี ช่วงเดือนที่เหมาะจะตัดแต่งคือหน้าหนาว ธันวาคม – มกราคม ตัดเสร็จแล้วนำปุ๋ ยหมั กมาบำรุง 15 – 20 กิโลกรัม/กอ ช่วยเพิ่มสา รอาหารหรือจะใช้สูตร 25 – 7 – 7 หรือ 46 – 0 – 0 ก็ได้ ใส่ 2 กำมือ/กอ เป็นปุ๋ ยช่วยในการเร่งหน่อให้แตกออกมาเยอะขึ้น

การขย ายพันธุ์ไผ่เลี้ยง

สามารถขย ายพันธุ์ไผ่ได้หลายแบบ เช่น จะขุดเหง้าไผ่อายุ 1 ปี ไม่เกินปีครึ่ง แล้วตัดใบกิ่งให้เหลือแต่ตอขนาด 40 เซนติเมตรโดยประมาณ จากนั้นตัดแต่งรากให้เหมาะสม จากนั้นชำลงถุงดำขนาด 5 x 11 นิ้วขึ้น ดินเพาะก็ใช้เป็นแกลบดำผสมดินปลูกอย่ างละ 1 ส่วนคลุกเข้ากันแล้วเอามาชำไผ่ได้เลย รอให้ไผ่เริ่มแตกแขนง ประมาณ 2 เดือนเราก็นำไปปลูกลงแปลงจริงได้เลย

ในการปลูกไผ่เลี้ยงก็มีขั้นตอนประมาณนี้เลย หากจะปลูกในพื้นที่บ้านอาจจะมีสัก 1 – 2 กอก็พอ และคอยตัดแต่งกออย่ าให้ใหญ่เกินไป และให้กะระยะการแผ่ขย ายกอด้วยอย่ าให้รุกล้ำไปดินเพื่อนบ้าน ฉะนั้นก่อนจะปลูกไผ่อย่ าลืมศึกษาข้อมูลและวางแผนการปลูกให้เหมาะสมด้วย พอมีหน่อแล้วก็ตัดไปขายหรือนำมาประกอบอาหารได้เลย

เรียบเรียงโดย kasetchaoban

Load More Related Articles
Load More By Kasetchaoban-J
Load More In เกษตร

Check Also

“เทคนิคการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว” การเตรีมเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อให้งอกดี

“เทคนิคการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว” การเตรีมเมล็ดพันธุ์ข้าว เ … …